วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ISO 14001 New Version 2015 Check List

In-House Training and Consulting
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 088 6560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949

"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมเข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ  http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018

ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปัจจุบัน ผู้เขียนและทีมงานร่วมงานกับ KS Nation Consultant Co.,Ltd. เป็นผู้บรรยายประจำในระบบการจัดการต่างๆ และเป็น Lecturer/Instructor/ External Trainer/ Freelance Auditor ให้กับองค์การและกับ Certification Bodies โดยประสบการณ์จริงจากชีวิตทำงานในโรงงานและหน่วยงานต่างๆ :


กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"

EMS Checklist:

Check List เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจติดตามระบบบริหารสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน (ผู้ตรวจประเมินหรือ Auditor ก็มีจัดทำ Check List เช่นกัน) โดยศึกษาจากข้อกำหนดของมาตรฐาว่ามีใจความอย่างไร จากนั้นนำมาระบุเป็นหัวข้อเพื่อใช้ตรวจสอบว่า องค์กรหรือโรงงานทำครบถ้วนหรือไม่ สามารถเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องตรวจสอบระบบโดยได้ข้อมูลมาจากระเบียบปฎิบัติ(Procedure) ชุดที่เราจะไปตรวจสอบ ก็คือของฝ่ายที่จะถูกตรวจสอบ ผู้เขียน จัดทำบทความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารสิ่งแวดล้อม สามารถ Link ได้จาก Web Blog ข้างล่าง
มาตรฐาน ISO14001, OHSAS18001 สามารถ link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/ 

จุดประสงค์ของการทำ Check List คือ
1  เพื่อใช้เป็นแนวทางของการตรวจประเมิน และสุ่มหาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
2  เพื่อช่วยจำและรวบรวมหลักฐานข้อบกพร่องที่พบในระหว่างการตรวจประเมิน

รายละเอียดของ Check List จัดทำใน Web Page ถัดไป
สงสัยสอบได้ที่ ksnationconsultant@hotmail.com
K.Sun 088 6560247, 083 2431855, K.Nat 081 3029339
Line ID: iatf16949

EMS Check List :

ท่าเรือประมงพลี จังหวัดชลบุรี

Check List ตรวจด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม มีดังนี้

ISO14001:2015 จะถามอย่างไร ตอนตรวจติดตามภายใน หรือ Internal Audit
Checklist New Version รวมทุกๆข้อกำหนด พูดถีงข้อ 8.1 และ 8.2 ด้วย มีดังนี้
ISO14001:2015  Check List : สำหรับตรวจติดตามภายใน เริ่มข้อ บริบท
ผู้บริหาร (Top Management) มีการผลักดันการพิจารณาความเสี่ยงโดยเฝ้าติดตามระบบบริหารคุณภาพ
ขององค์กรอย่างไร หลักฐานคืออะไร มีการพิจารณาไปถึงแผนธุรกิจด้านคุณภาพอย่างไร
องค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ขึ้นมาหรือไม่
*กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อะไรบ้าง เน้นทิศทางด้านใด
จากกลยุทธ์ส่งต่อไปยังนโยบายคุณภาพอย่างไร
*ข้อ 4.1 มีการพิจารณาปัจจัยภายใน (Internal Effect) อะไรบ้างที่มีผลกระทบ
*มีการพิจารณาปัจจัยภายนอก (External Effect) อะไรบ้างที่มีผลกระทบ
*ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรขององค์กรอย่างไร
*ดำเนินการและบริหารอย่างไร
*นำข้อจำกัดด้านทรัพยากร มาพิจารณาในการจัดทำและกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หรือไม่ อย่างไร
*ผลกระทบกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ได้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรมาพิจารณาอย่างไร ทั้งการสำรวจ ชี้บ่ง และวิเคราะห์ด้วยวิธีการอย่างไร
*การพัฒนาเป้าหมายต่างๆได้พิจารณาหัวข้ออะไรบ้าง มั่นใจหรือไม่ว่าการกำหนดกลยุทธ์สามารถ
*กำหนดทิศทาง นำพานโยบายต่างๆ ทำให้เป้าหมายได้บรรลุตามผลลัพท์ที่ตั้งใจ
*ผู้เกี่ยวข้องทั้ง ผู้ถือหุ้น พนักงานทุกระดับ ข้อตกลงกับลูกค้าทุกกรณี รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีการนำมาพิจารณาอย่างครบถ้วนหรือไม่
*ได้มีการกำหนดด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณค่าองค์กรอะไรบ้าง (ถ้ามี)
*การเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ส่งผลกระทบด้านระบบบริหารคุณภาพ พิจารณาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไร
*ได้สื่อสารให้พนักงานทุกระดับและผู้เกี่ยวข้องทราบสิ่งสำคัญในแต่ละเรื่อง แต่ละระดับอย่างชัดเจนหรือไม่ มีประสิทธิผลเพียงใด
4.2 องค์กรมีกำหนดไว้อย่างชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีใครบ้าง กลุ่มใดบ้าง
*ได้มีการพิจารณาถึงทุกกลุ่ม ทั้งด้านความต้องการและความคาดหวังครบถ้วนหรือไม่
*กรณีที่มีผลต่อองค์กร ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง
*มีจัดทำเป็นแผนงานหรือออกโปรเจ็คหรือไม่ หรือมาตรการดำเนินการอย่างไร
*ผลพิจารณาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพท์อย่างไร ขอดู
*ผลพิจารณาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพท์อย่างไร ขอดู
*พิจารณาแล้ว นำไปดำเนินใดต่อ มีแผนงานหรือไม่ ถ้ามีขอดู
เกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อม อยู่ในข้อกำหนดของ ISO14001 ข้อที่ 5.2
เขียนคำถามเพื่อไปตรวจประเมินภายใน (Internal Audit) เช่น
ตรวจสอบขอบข่าย ครอบคลุมอะไรบ้าง มีกิจกรรมที่ปฏิบัติในหัวข้อที่เกี่ยวข้องจริงหรือไม่
ตรวจสอบว่าขอบข่ายกับกิจกรรม ต้องสอดคล้องกัน  ไม่เกิน ไม่ขาด
ให้สอบถามถึงวิธีการได้มาซึ่งนโยบาย และทำอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ
ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy)
การกำหนดนโยบายสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ ขนาดและลักษณะหรือประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่
นโยบายสิ่งแวดล้อมผู้บริหารมีวิธีการอย่างไรให้เข้าพนักงานทั้งองค์กรเข้าใจและมีส่วนร่วม
พนักงานมีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมอย่างไร ประเมินผลและติดตามผลอย่างไร
มีการทวนสอบด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารระดับสูงอนุมัติและพิจารณาหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งติดตามผลมากน้อยแค่ไหน มีความมุ่งมั่นในการที่จะปรับปรุงและป้องกันมลพิษหรือไม่ (หากผู้บริหารไม่มีเลย ผู้ตรวจสอบจากภายนอก จะไม่มั่นใจในสิ่งที่องค์กรจะเดินหน้าต่อไป ว่าจะบรรลุตามเปาหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือแค่ออกนโยบายแล้วก็จบกัน)
นโยบายมีการจัดทำเป็นเอกสารแล้วหรือไม่ และได้ประกาศไปทั่วทั้งองค์กรอย่างไร
มีความมุ่งมั่นในการที่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่
ให้ทวนสอบว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม (Environmental Objective and Target) มีความสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) หรือไม่
มีการกำหนดความจำเป็นในการทบทวนนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) อย่างไร ความถี่ในการทบทวน เช่น ปีละกี่ครั้ง หรือเมื่อไร โดยใคร
ไว้ติดตามที่หน้างานด้วยว่าพนักงานได้รับรู้นโยบายสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน มีความเข้าใจหรือไม่ มีส่วนร่วมหรือไม่ อย่างไร
มีการแจ้งนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) ให้กับผู้เกี่ยวข้องใดบ้าง ทั้งลูกค้า (Customers) ผู้รับเหมา(Contractors) รวมทั้งผู้รับเหมาช่วง ซัพพลายเออร์ (Suppliers) และชุมชนรอบข้าง
มีวิธีการในการแจ้งนโยบายให้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า (Customers) ผู้รับเหมา (Contractors) ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor) ซัพพลายเออร์ (Suppliers) และชุมชนรอบข้างอย่างไร
มีการถ่ายทอดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) ให้กับสาธารณะชนอย่างไร โดยเฉพาะชุมชนรอบข้างโรงงาน
 *ผลลัพท์ที่ได้จากชุมชนหรือ Feed Back เป็นอย่างไร มีการคำเนินการต่ออย่างไรกับ
Check List เกี่ยวกับ ข้อกำหนด 5.3 เกี่ยวกับบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
(Roles, Responsibility and Authority) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
ผู้บริหารมีการจัดการอย่างไร เกี่ยวกับทรัพยากรที่จำเป็น ต้องมีเพียงพอ เพื่อจัดทำระบบ ปรับปรุง โดยรวมสาธารณูปโภค ความชำนาญเฉพาะด้านและเทคโนโลยี รวมทั้งการเงิน
มีการจัดทำเอกสารบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ (Resource, Roles, Responsibility and Authority) ของบุคคลต่างๆทุกระดับแล้วหรือยัง และได้สื่อสารออกไปชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่ของ โครงสร้างและความรับผิดชอบ(Structure and Responsibility)ในระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
บุคลากรทราบบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ หรือไม่ ให้ตรวจสอบรวมไปถึงคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและ Committees ด้วย
ขอดูหลักฐานว่าผู้บริหารได้แต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารสิ่งแวดล้อมแล้วหรือยัง (ใบประกาศแต่งตั้ง EMR)
* EMR ได้ทำหน้าที่รณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
* EMR มีจัดทำรายงานผล(Performance) ให้กับผู้บริหารเพื่อการปรับปรุงหรือไม่
ตรวจสอบว่าได้ครอบคลุมความต้องการของระบบหรือไม่ เช่น ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ ปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่ และทำการตรวจติดตามผลหรือไม่
* EMR ทราบบทบาท หน้าที่ตนเองหรือไม่ มั่นใจว่าดำเนินการสอดคล้องกับระบบหรือไม่
จากรายงานผล ผู้บริหารมีการทบทวน ติดตามข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบหรือไม่
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ เช่น เปลี่ยนแปลงตัว EMR มีการ Up-date ประกาศและเอกสารหรือไม่ รวมทั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมีบางคนลาออกไปหรือไม่
* EMR มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามมาตรฐานISO14001 หรือไม่ อย่างไร
Check List EMS หรือ ISO14001 ข้อกำหนด การวางแผน
6.1 Action to Address risks and Opportunities
o   ขอดู Risk Management Procedure (ถ้ามี)
o    ขอดูทะเบียนความเสี่ยง Risk Lists หรือข้อมูลด้าน Risk
o    ผลลัพธ์ของการประเมินความเสี่ยงที่มีนัยยะอะไรบ้าง
o    ปัจจัยภายในและภายนอกมีอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
o    ผลกระทบนำไปดำเนินการใดบ้าง เชื่อมโยงถึงนโยบายไหม
o    การชี้บ่ง Risk Identification ดูหลักฐานถูกต้องหรือไม่
o    การวิเคราะห์ Risk Analysis ใช้วิธีการใด และทำถูกต้องไหม                            
o    การประเมิน Risk Evaluation ดู Risk Criteria เกณฑ์อะไร
o   ดู Risk Level: High, Medium, Low มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
o    สุ่มดูการคิดคะแนน ประเมินถูกต้องหรือไม่
o    มีแผนงานความเสี่ยง(Risk Plans) ขอดูวิธีการควบคุม
o   Risk Mitigation (Reduce, Control, Prevent) มีประสิทธิผลหรือไม่ ผลลัพธ์หน้างานตามสภาพความจริงมีอย่างไร
o    มีการพิจารณา Risk Remain ส่วนที่ซ่อนแอบแฝงอย่างไร
o    มีการสื่อสารความเสี่ยงอย่างไร มั่นใจว่าถึงกลุ่มที่ต้องรู้และเข้าถึงหรือไม่ มีประสิทธิผลเพียงใด
o    กฎหมายที่ส่งผลกับความเสี่ยงมีพิจารณาหรือไม่ อย่างไร
o   On Site ดูผลที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ กิจกรรม กระบวนการ Function สินค้า รวมถึงแหล่งข้อมูลความเสี่ยง
o    หลังออกแผนงานความเสี่ยงมีการเฝ้าระวัง (Monitoring) หรือไม่ อย่างไร กำหนดความถี่อย่างไร ทำตามครบถ้วนไหม
o    มีการทบทวนเมื่อไร(Review) ขอดูข้อมูลและผลที่ได้
o    มีการรายงาน Report Risk/ Record Risk นำเข้าสู่งานทบทวนบริหารหรือไม่ ผลการจัดการต่อเนื่องหรือไม่
o    โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในอนาคต ดำเนินการอย่างไร
o    กรณีมีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่ต้องประเมินความเสี่ยงใหม่
6.1.2 ลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspectคำว่า Aspect คือ ประเด็น หรือ แง่มุม หรือลักษณะของปัญหาสิ่งแวดล้อม)
มีและจัดทำระเบียบปฏิบัติการชี้บ่งลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspect Procedure) หรือไม่
*  จัดทำการประเมินทุกกิจกรรม ทุกผลิตภัณฑ์ และครบทุกกิจกรรมของลักษณะ หรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspect) หรือไม่
ทำการชี้บ่งลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม โรงงานสามารถควบคุมได้ กับไม่ได้ ทำอย่างไร มีออกแผนงานอะไรบ้าง
ลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม โรงงานที่เกิดจากผลกระทบของโครงการ(Project) มีอะไรบ้าง ดำเนินการอย่างไร
ใครเป็นผู้วิเคราะห์และจัดทำเกี่ยวกับลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
ลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หรือตัวหลักมีอะไรบ้าง ดำเนินการอย่างไรบ้าง
การจัดทำลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในเวลาเหมาะสมหรือไม่ ครอบคลุมทั้งในอดีต ปัจจุบัน รวมถึงแผนงานในอนาคตด้วยหรือไม่
การจัดทำลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มีความล่าช้าและค้างนานหรือไม่
การจัดทำลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ควบคุมถึงเหตุการณ์ทีผิดปกติ และเหตุฉุกเฉินหรือไม่
ขอดูหลักฐานและบันทึกของแผนงานสิ่งแวดล้อมต่างๆ  ว่าดำเนินการ คืบหน้าและค้าง มากน้อยเพียงใด
กรณีแผนงานที่ได้จากการจัดทำลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ดำเนินการอย่างไรต่อไป
หากสังเกตดู จะพบว่าข้อกำหนด ที่เป็นหมายเลขของ OHSAS 18001 จะเหมือนกันและเท่ากันกับ ISO14001หรือ EMS
EMS Check List: Legal and Other Requirements ข้อ 6.1.3
Check List เกี่ยวกับกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้
มีการจัดทำระเบียบปฏิบัติ (procedure) เกี่ยวกับกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม อะไรบ้าง
มีเกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง
ใครเป็นผู้รับผิดชอบ จัดทำ รวบรวมเกี่ยวกับกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง
มีการชี้บ่งและเข้าถึงข้อกฎหมายอย่างไร และลักษณะหรือประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspect) ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย มีทำรายการ(List) หรือไม่ และทำอย่างไร
มีการแจกจ่ายข้อกำหนด ข้อกฎหมายไปให้ผู้เกี่ยวข้องหรือไม่ จ่ายครบถ้วนด้วยหรือไม่
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะหรือประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspect) โรงงานสมัครใจทำหรือไม่ อย่างไร มีแผนงานหรือไม่ ใครรับผิดชอบ
กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการพิจารณานำไปใช้หรือไม่ ในการจัดการสิ่งแวดล้อม
มีการติดตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมได้นำไปใช้ มีความคืบหน้าอย่างไร
มีการติดตามความคืบหน้าของกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ(New Legal) อย่างไร
กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการ Up to Date หรือไม่ ให้สุ่มตรวจสอบจากรายการและทะเบียนกฎหมายทั้งหมด (Legal and Other Requirements List)
มีการทบทวนกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อไร ความถี่ในการทบทวน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ขอดูข้อมูลที่ทำล่าสุด
ผลของการทบทวนกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรต่อ มีออกแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่
ทุกฝ่าย ทุกพื้นที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ให้สำรวจหน้างานด้วย ดูสภาพจริงต่างๆ
พิจารณาว่าครอบคลุมทุกกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดและกฎหมายระดับประเทศ

EMS Check List: 6.2 Objectives and Planning to Achieve them
Check List เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้
มีการจัดตั้งเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม สามารถวัดค่าได้หรือไม่ ตั้งมาสมเหตุสมผลหรือไม่
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม สอดรับ สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมหรือไม่
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม ขององค์กรหรือโรงงานมีความตั้งใจ ความมุ่งมั่นในการที่จะป้องกันมลพิษหรือไม่
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม ขององค์กรหรือโรงงานมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไม่
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ โรงงานสมัครใจทำหรือไม่ และมีความมุ่งมั่นเพียงใด
การจัดตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาจากอะไรบ้าง เช่น
จากกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่สมัครใจใช่ไหม
จากลักษณะหรือประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspects)
จากด้านเทคโนโลยี
จากการเงินและด้านธุรกิจ
หรือจากผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้นบริษัท
หลังจากออกวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมแล้ว มีการดำเนินการอย่างไร มีออกแผนงานสิ่งแวดล้อมหรือไม่
แผนงานที่ออกมานั้นมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด ดูเรื่องความรับผิดชอบและสิ่งที่ทำให้วัตถุประสงค์ และเป้าหมายบรรลุผลตามที่ตั้งไว้
ในแผนงานสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ มีกำหนดความรับผิดชอบของทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือที่อยู่ในขอบข่ายขอรับการรับรองระบบบริหารสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และเกิดผลกระทบกับโรงงานหรือไม่ อย่างไร
จากแผนงานสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จากทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีระบุระยะเวลา (Time Frame) ผู้รับผิดชอบรวมทั้งวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมอย่างไร เน้นว่าทุกเป้าหมาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร
มีการทบทวนวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมอย่างไร ความถี่ในการทบทวน ขอดูข้อมูลทั้งหมด
มีการสื่อสารและเผยแพร่วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม ไปยังทุกฝ่าย ทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร
Req 7.1 ทรัพยากรมีการจัดการอย่างไร
*ได้ดำเนินกับทรพยากรที่จำเป็นอย่างไร ไม่ให้เกิดผลกระทบ
Req 7.2 ความสามารถ และ 7.3 ความตระหนัก (ด้านสิ่งแวดล้อม)
(Competence, Training, Awareness) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
ขอดู Training Procedure
มีการชี้บ่ง ระบุบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมบ้างหรือไม่ และได้รับการอบรมหรือไม่
บุคลากรที่จะทำหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นได้กำหนดคุณสมบัติอย่างไร พื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และความสามารถอย่างไรบ้างจึงจะทำงานนั้นได้
ขอดูบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านสิ่งแวด ล้อมว่าได้ฝึกอบรมอะไรบ้าง รวมทั้งอบรมให้กับพนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยหรือไม่
มีการฝึกอบรมให้กับ Outsource หรือไม่ ทั้งผู้รับเหมา(Contractor) ผู้รับเหมาช่วง(Sub-Contractor) ซัพพลายเออร์(Suppliers)
มีการสำรวจหาความจำเป็นในการฝึกอบรม(Training Needs) ให้กับพนักงานทุกฝ่ายหรือไม่ มีหรือไม่มีและถ้ามีต้องอบรมเรื่องใดเร่งด่วน
ขอดูแผนการฝึกอบรม ครอบคลุมถึงพนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยหรือไม่ มีการอบรมเรือง Environmental Awareness ด้วยหรือไม่
มีการอบรมให้กับพนักงานเข้าทำงานใหม่หรือไม่ อย่างไร
*  มีการอบรมให้กับผู้เยี่ยมชม(Visitor)โรงงานหรือไม่ มีการแจ้งสิ่งระมัดระวังเรื่องใดบ้าง และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรในการเยี่ยมชมโรงงาน
สุ่มตรวจสอบว่าพนักงานมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
หลังทราบความจำเป็นในการอบรม(Training Needs) ได้ดำเนินการอบรมหรือไม่ ทำการอบรมเมื่อไร
มีการเก็บบันทึกการอบรม(Training Record)ต่างๆหรือไม่ อบรมครบทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือไม่
ขอดู Training Evaluation
ปฏิบัตตามระเบียบปฏิบัติ(Procedure) หรือไม่ มีจิตสำนึกที่จะให้ได้ตามนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) หรือไม่ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO14001 หรือไม่
พนักงานเข้าใจถึงคุณประโยชน์ที่จะได้จากการปรับปรุงระบบหรือไม่ รวมทั้งเข้าใจบทบาท ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและผลลัพท์มากน้อยเพียงใด
มีการเตรียมการอบรมรองรับเกี่ยวกับปัญหาหรือลักษณะสำคัญ(Environmental Aspects)ของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่
มีการฝึกอบรมการเตรียมพร้อมเพื่อรับสถานะการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่
Req 7.4 การสื่อสาร(Communication) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
มีการจัดทำระเบียบปฏิบัติ(Procedure) แล้วหรือไม่
มีการสื่อสารงานสิ่งแวดล้อมและสื่อสารไปทุกระดับที่เกี่ยวข้องภายในโรงงานทำอย่างไรบ้าง
มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการสื่อสารอย่างไร แต่ละระดับสื่อสารด้วยวิธีการใดบ้าง
มีการแจกแจงและวิเคราะห์เรื่องที่ต้องสื่อสารให้กับใครบ้าง
มีการสื่อสารแบบสองทางหรือไม่ เปิดให้พนักงานมีส่วนร่วมอย่างไร
พนักงานจะแสดงความคิดเห็นต้องทำอย่างไร มีกล่องรับความคิดเห็นหรือไม่ ถ้ามี มีจำนวนกี่จุด ใครรับผิดชอบและติดตามงานนี้
มีการสื่อสารให้กับผู้เกี่ยวข้องภายนอกอย่างไร ทั้งภาครัฐ ชุมชนรอบข้าง นิคมอุตสาหกรรม ทั้งเรื่องที่ต้องสื่อสาร การรับข้อร้องเรียน การรับข้อเสนอแนะ รวมทั้งข้อมูลการตรวจวัด การตรวจสอบที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทำอย่างไรบ้าง ใครรับผิดชอบ
เมื่อรับการสื่อสารจากภายนอก เช่นข้อร้องเรียนจากชุมชนรอบข้าง มีการบันทึก มีขั้นตอนการสื่อสารและดำเนินการอย่างไร
เมื่อข้อร้องเรียนจากภายนอกได้ดำเนินการแล้ว มีการสื่อสารกลับอย่างไรให้กับผู้เกี่ยวข้อง
มีการบันทึกและสรุปหรือไม่ว่า เรื่องใดต้องสื่อสารให้บุคคลภายนอกรับทราบ
ขอดูบันทึกการสื่อสารทั้งหมดว่ามีการควบคุมอย่างไรบ้าง
มีการสื่อสารเรื่องใด หัวข้อใดบ้างให้กับผู้รับเหมา(Contractor) ผู้รับเหมาช่วง(Sub-Contractor) ซัพพลายเออร์(Suppliers) ให้เข้าใจและต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
มีประเด็นปัญหาหรือลักษณะปัญหาที่สำคัญ(Significant Aspect) ที่ตัดสินใจจะไม่สื่อสารให้บุคคลภายนอกทราบ และมีแผนการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรเพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาติดตามมา
ให้สุ่มว่าพนักงานมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด และมีกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมใดบ้าง
Req 7.5 เอกสารข้อมูล (Documented Information) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
มีการจัดทำเอกสาร ทั้งนโยบายสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์และเป้าหมายแล้วใช่ไหม ประกาศให้ทั้งองค์กรรับทราบหรือไม่
จัดทำเอกสารตามมาตรฐานและตามความจำเป็นครบถ้วนหรือไม่
กำหนดขอบข่าย (Scope) ของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมแล้ว เขียนไว้ที่ไหน เช่น ระบุใน EM (Environmental Manual) หรือที่เอกสารใดบ้าง
ระบบเอกสารกำหนดโครงสร้างอย่างไร อ้างอิงถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
* EM (Environmental Manual) หรือคู่มือสิ่งแวดล้อม เขียนครบทุกข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO14001หรือไม่ มีการรวมระบบหรือเมอร์ส (Merge) กับระบบใดหรือไม่
การเขียนเอกสารที่จำเป็นและมีความสัมพันธ์กับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมใดบ้าง
Req 7.5.3 การควบคุมเอกสาร (Control of Document)
กรณี ที่เมอร์สระบบกัน จะใช้ระเบียบปฏิบัติ(Procedure) เรื่องการควบคุมเอกสารของ ISO9001 หรือ QMS เป็นตัวหลัก ทำให้มี Procedure เพียงชุดเดียว คำถามสามารถใช้ของ Checklist  ISO9001 แต่จะสรุปสั้นๆ ว่าสิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
ขอดูระเบียบปฏิบัติ(Procedure) เรื่องการควบคุมเอกสาร
ขอดู Master List
ขอดู Documentation Authorization
ขอดู Distribution List
ตรวจสอบการชี้บ่งและการควบคุมเอกสาร
เอกสารต้องมีการอนุมัติโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบโดนตรง
ขอดูการเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขเอกสาร รวมทั้งการเรียกคืน
ตรวจสอบระยะเวลาการจัดเก็บเอกสารเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่
ตรวจสอบการออก DAR (Document Action Request) และดูสถานะการแก้ไขเอกสารว่าถูกต้องหรือไม่
เอกสารอ่านออก เขียนชัดเจนหรือไม่
ดูว่าการเก็บ การรักษาเอกสารดีหรือไม่ มีการป้องกันไม่ให้เสื่อมสลายหรือไม่
การค้นหา การเข้าถึง(Access) เอกสารได้หรือไม่ หรือค้นหาใช้เวลานานมากเกินไปหรือไม่
ตรวจสอบเอกสารที่อยู่ในรูป Electronic Media ว่าควบคุมและ Back Up อย่างไร
มีเอกสารใช้งาน ณ จุดทำงานหรือไม่
ดูการทบทวนเอกสารต่างๆ
เอกสารต้องทันสมัยเสมอ (Up-Date)
เอกสารล้าสมัย(Obsolete) นำออกนอกพื้นที่ใช้งานหรือไม่
พนักงานมีความเข้าใจการควบคุมเอกสารหรือไม่
เอกสารจากภายนอกมีการควบคุมอย่างไร
การควบคุมบันทึก (Control of Record: Check List)
(รายละเอียดการควบคุมบันทึก สามารถย้อนกลับไปศึกษาและใช้ Check List ของ ISO9001
หลักการเหมือนกัน แต่มุ่งเน้นตรวจบันทึกด้านสิ่งแวดล้อม บันทึกเกี่ยวกับความไม่สอดคล้องต่อกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
EMS Check List: ข้อ การดำเนินการ: Operation
Check List เกี่ยวกับ ข้อกำหนด Req 8.1 Operation Planning and Control
สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
โรงงานทำการชี้บ่งและวางแผนงานที่เกี่ยวกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspect) ที่สำคัญหรือไม่ อย่างไร
ขอดูระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมของเสีย (Waste Control Procedure) และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องขยะ
ขยะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ชี้บ่งสีถังขยะอย่างไร ถังสีเขียว สีเหลือง สีแดง อื่นๆ ดำเนินการอย่างไร
ขยะแบ่งกี่ประเภท ส่งกำจัดภายนอกหรือไม่อย่าง
กรณีขยะพิษ กำจัดและจัดการอย่างไร
ขอดูเกี่ยวกับเรื่องน้ำมันหกรั่วไหล วิธีการควบคุม และกำจัด
ขอดูและตรวจสอบเรื่อง Outsource Control Procedure รวมทั้งผู้รับเหมาขนขยะ
ตรวจสอบเรื่อง Boiler (ถ้ามี)
ขอดูและตรวจสอบเรื่องAir Emission Control and Prevent รวมทั้งเรื่องฝุ่น วิธีการกำจัด การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ใดบ้าง ทำถูกหลักการด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหรือไม่
การควบคุมเรื่องAir Emission Control and Prevent มีการใช้ Bag Filter, Cyclone หรืออุปกรณ์ใด ผลลัพท์และแนวทางการแก้ไข กรณีที่ไม่ได้ตามเป้าหมายทำอย่างไร
ขอดูและตรวจสอบเรื่อง Water Pollution Control and Prevent
ขอดูและตรวจสอบเรื่อง RoHS หรือการควบคุมไม่ให้มีสารต้องห้ามเกินกว่าปริมาณที่กำหนดอย่างไร
ขอดูและตรวจสอบเรื่อง Energy Conservation มีหรือไม่ กำหนดไว้อย่างไรบ้าง
ขอดูและตรวจสอบเรื่องการซ่อมบำรุงรักษา (Maintenance Procedure)
ขอดูและตรวจสอบเรื่องการควบคุมสารเคมี (Chemical Control Procedure) ดูวิธีการใช้สารเคมี วิธีการกำจัดในกรณีที่หกรั่วไหลและปนเปื้อนสู่สภาพแวดล้อม มีการปนเปื้อนลงไปในน้ำบาดาลหรือไม่
กรณีสารเคมีส่งกำจัดภายนอกมีหรือไม่ และทำอย่างไร
การปฏิบัติการต่างๆ การชี้บ่งและแผนงาน สอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายหรือไม่
* Operational Control หรือการควบคุมการดำเนินงานรวมถึงสิ่งจำเป็นและส่วนบริการ ส่วนสนับสนุนด้วยหรือไม่ ทั้งการออกแบบ  งาน R&D การจัดซื้อ จัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ อื่นๆ
* Operational Control หรือการควบคุมการดำเนินงานครอบคลุมถึงงานซ่อมบำรุงรักษา(Maintenance) หรือไม่ รวมทั้งงานซ่อมแซมเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
ตรวจสอบว่ามีการรีไซเคิล (Recycle) หรือไม่ ผลลัพท์อย่างไรบ้าง
ขอดูและตรวจสอบเรื่องการจัดซื้อ (Purchasing  Procedure)  รวมทั้งการจัดหา จัดจ้างสิ่งของและบริการต่างๆ
การดำเนินงานปฏิบัติเหล่านี้  มีการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขใดๆ มีการแจ้งและสื่อสารให้ผู้รับเหมา (Contractor) ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor) หรือไม่ และติดตามว่ามีความเข้าใจในสิ่งที่แจ้งหรือไม่
การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขให้กับผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับเหมา (Contractor) ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor) มีความเหมาะสมหรือไม่
ตรวจสอบทั้งระเบียบปฏิบัติทั้งหมด เอกสารต่างๆว่าสอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายหรือไม่
การกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเหมาะสมและสามารถทำได้จริงหรือไม่
ให้ตรวจสอบผลลัพท์ของการปฏิบัติการต่างๆ รวมทั้งที่มีนัยยะสำคัญและออกเป็นแผนงานสิ่งแวดล้อม
พนักงานมีส่วนร่วม มีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใดในระบบบริหารสิ่งแวดล้อมหรือ ISO14001 รวมทั้งตรวจสอบ หรือหาผลลัพท์ที่ได้ว่าถูกเบี่ยงเบนออกไปจากนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร
Check List เกี่ยวกับ ข้อกำหนด Req 8.2 การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
(Emergency Preparedness and Response: Check List)
สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อ สถานการณ์ฉุกเฉินแล้วหรือยัง มีการชี้บ่งสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นไปได้ และแนวโน้มของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสิ่งแวด ล้อมอย่างไรบ้าง
ขอดู Emergency Procedure และ Emergency Plans (แผนฉุกเฉิน)
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Procedure) ระบุครอบคลุมถึงชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Procedure) ระบุเชื่อมโยงไปทั้งองค์กรภายในและองค์กรภายนอก เช่น ชุมชนรอบข้างหรือไม่ อย่างไร
เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง มีการตอบโต้ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุต่างๆอย่างไรบ้าง
เมื่อเกิดเหตุการณ์จริงเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ กำหนดผู้รับผิดชอบหลัก (Key Person) ไว้หรือยัง เบอร์โทรศัพท์ใด และ Up-Date หรือไม่
โรงงานมีการป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุอย่างไรบ้าง
มีการทบทวนเป็นระยะๆหรือไม่ ความถี่ในการทบทวน แก้ไข และปรับปรุงระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับการ เตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Procedure) มีอย่างไรบ้าง
หลังจากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุแล้ว มีการทบทวนหรือไม่ หลังการทบทวน มีการซ้อมแผน และทดสอบใหม่หรือไม่
การทบทวนสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ  ครอบคลุมความฉุกเฉินทุกระดับหรือไม่
การซ้อมเหตุฉุกเฉิน และทบทวนแผนที่ซ้อมแล้ว มีการแก้ไขแผนการฉุกเฉินหรือไม่ มีการแก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อ สถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่
หลังการทดสอบและซ้อมแผนฉุกเฉินตามระยะความถี่ที่กำหนด สรุปอย่างไรบ้าง
มี SDS อยู่หน้างานและค้นหาได้หรือไม่ ผู้ที่ต้องใช้งาน มีความเข้าใจใน SDS (Safety Data Sheet) มากน้อยเพียงใด
มีการอบรมเกี่ยวกับการดับเพลิงหรือไม่ แผนการดับเพลิง กำหนดไว้อย่างไร มีวิธีการอะไรบ้าง
ความถี่ที่จัดอบรมดับเพลิง ปีละกี่ครั้ง มีจำนวนพนักงานเท่าไร คิดเป็นกี่% และดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
จุดระดมพล (Assembly Point) มีกี่จุด พนักงานทุกคนทราบหรือไม่
การฝึกอบรมพนักงานตามแผน ได้มีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน แต่ละกลุ่มครบถ้วนหรือไม่และเหมาะสมหรือไม่ หากเกิดเหตุการณ์จริงมั่นใจว่าจะปฏิบัติการได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่
บางเหตุการณ์ต้องอพยพคน มีการกำหนดเส้นทางอพยพและจุดรวมพลไว้ชัดเจนหรือไม่
หลังการทบทวนแผนแล้ว อบรมแล้ว มีความมั่นใจมากน้อยเพียงใดที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง
พนักงานทุกคนทราบหรือไม่ว่าจุดรวมพลอยู่ที่ไหน
มีการตรวจสอบและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้ง Incident, Accident, Emergencyทันทีและทุกครั้งหรือไม่
จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน มีวิธีการบรรเทาผลกระทบนี้อย่างไร
หลังเกิดเหตุการณ์ ทั้ง Incident, Accident, Emergency มีทำการตรวจสอบ วิเคราะห์และสรุปผลหรือไม่อย่างไร
จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเหตุการณ์ฉุกเฉินแล้ว มีการทำความสะอาด กำจัดซากที่เหลืออย่างถูกวิธีการและเหมาะสมหรือไม่
มีการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิง สัญญาณเตือนไฟไหม้ สายฉีดน้ำ ท่อน้ำดับเพลิง เครื่องดับเพลิงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ ณ จุดใช้งานหรือไม่
มีการพิจารณาออกมาตรการเชิงแก้ไขและการป้องกันอันเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุหรือไม่ อย่างไร
EMS Check List: ข้อกำหนดที่ 9 Performance Evaluation
Check List เกี่ยวกับ ข้อกำหนด Req 9.1  การเฝ้าติดตาม การตรวจวัดผล การวิเคราะห์และการประเมิน
(Monitoring, Measurement, Analysis and Evaluation: Check List)
สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผล (Monitoring and Measurement) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
มีกำหนดความถี่ในการตรวจสอบหรือไม่ และมีการตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
มีการกำหนดหัวข้อ และลักษณะที่จำเพาะซึ่งเป็นจุดสำคัญ จุดควบคุมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญหรือที่มีผลกระทบ มาก หรือไม่ และดำเนินการอย่างไรบ้าง
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผล (Monitoring and Measurement) มีระบุถึงผลการดำเนินงาน (Performance) ของผลการควบคุมที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง และบันทึกผลไว้ด้วยหรือไม่
*  ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผล ดำเนินอย่างสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม(Environmental Policy)  วัตถุประสงค์ (Objective) และเป้าหมาย (Target) ด้านสิ่งแวดล้อม หรือไม่ อย่างไร
เครื่องมือทีใช้ในการเฝ้าติดตามและการตรวจวัดผลมีการสอบเทียบ (Calibration) หรือไม่ และการสอบเทียบเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับหรือไม่
เครื่องมือที่สอบเทียบมีการดูแลรักษาดีหรือไม่ มีการบันทึกผลอย่างถูกต้องหรือไม่ (รายละเอียดการสอบเทียบ สามารถย้อนกลับไปศึกษาที่ Check List ของ ISO9001หัวข้อ การสอบเทียบ
ขอดูผลการสอบเทียบและบันทึกผลต่างๆของอุปกรณ์ เครื่องมือวัดที่มีผลต่องานวัดด้านสิ่งแวดล้อม
เครื่องมือวัดทุกชิ้นที่มีผลด้านสิ่งแวดล้อม มีความแม่นยำ หรือไม่ มีความเที่ยงตรงหรือไม่ (Precision and Accuration)
มีการจัดทำแผนการตรวจสอบและวัดผลหรือไม่  ปฏิบัติได้ตามแผนหรือไม่ อย่างไร
ผู้ตรวจสอบมีความเข้าใจทั้งวิธีการ การใช้เครื่องมือวัด และสถานที่ต้องไปวัดผลอย่างไรบ้าง
มีการกำหนดหน้าที่งานชัดเจนหรือไม่
ตรวจสอบว่า เรื่องที่ต้องเฝ้าระวังตามกฎหมายและข้อกำหนด ได้ปฏิบัติหรือไม่ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว มีการแก้ไขเหตุที่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ยอมรับไม่ได้ ทำกันอย่างไร
พนักงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ให้สุ่มทดสอบความเข้าใจของพนักงานทุกๆจุดงาน
มีการสื่อสารเรื่องที่เฝ้าระวังให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร
ขอดูและตรวจสอบแผนการเฝ้าระวัง (Monitoring Plan) เป็นอย่างไร ทำตามแผนหรือไม่ มีอุปสรรคใดบ้าง
ขอดูและตรวจสอบบันทึกและผลของการเฝ้าระวัง (Monitoring Result and Record) เป็นอย่างไร
ให้สุ่มตรวจสอบการวัดค่าเสียงดัง (Noise) เป็นอย่างไร เป็นไปตามที่กกฎหมายกำหนดหรือไม่
ให้สุ่มตรวจสอบการวัดค่าแสงสว่าง (Light Intensity) เป็นอย่างไร เป็นไปตามที่กกฎหมายกำหนดหรือไม่
Req 9.1.2  การประเมินความสอดคล้อง (Evaluation of Compliance: Check List)
โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินความสอดคล้อง (Evaluation of Compliance Procedure) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และทำการประเมินเป็นระยะๆตามที่กำหนดหรือไม่
*  การประเมินความสอดคล้อง (Evaluation of Compliance) ดำเนินการครบถ้วนตามรายการทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนด (Legal Master List)หรือไม่ และข้อมูล Up to Date เป็นปัจจุบัน ไม่มีส่วนที่ล้าสมัย หรือที่กฎหมายได้ยกเลิกไปแล้ว นำมาปะปนในรายการหรือไม่
ให้ตรวจสอบบันทึกผลของการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ทำตามระยะเวลาที่กำหนด หรือทุกครั้งที่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบทุกคน ทุกหน้าที่ชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่
มีการประเมินทุกๆระยะ หรือตามความถี่ที่กำหนด และทุกครั้งที่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง หรือประกาศให้มีผลบังคับใช้ใหม่ อย่างไรบ้าง
หลังการประเมินความไม่สอดคล้องแล้ว มีการนำไปปฏิบัติหรือไม่ เมื่อไร
ขอดูหลักฐานและบันทึกผลการประเมิน ทำล่าสุดเมื่อไร ทำเวลาใดบ้าง
ได้ประเมินความสอดคล้องของโรงงานที่เกี่ยวกับใบขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน ว่าสิ่งต่างๆที่ระบุไว้ มีความสอดคล้องหรือไม่ (ให้ดู ใบ รง. ที่ออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรมหรือใบที่รัฐออกให้เมื่อขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน)
Req 9.2 การตรวจติดตามภายใน (Internal Audit : Check List)
(รายละเอียดการตรวจติดตามภายใน สามารถย้อนกลับไปศึกษาและใช้ Check List ของ ISO9001
สามารถ link ดูจาก http://quality1996-quality1996.blogspot.com/  Blog 4
หลักการเหมือนกัน แต่มุ่งเน้นตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม)
EMS Check List เกี่ยวกับ ข้อกำหนด Req 9.3   การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review Check List)
สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร: Management Review Meeting Procedure) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
*  การประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review Meeting) ทำปีละกี่ครั้ง ความถี่ของการประชุมและการติดตามปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดำเนินการอย่างไร
(ราย ละเอียดเกี่ยวกับการประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review Meeting)  สามารถย้อนกลับไปศึกษาที่และใช้ Check List ของ ISO9001:  Blog ที่ 4
สามารถ link ดูจาก http://quality1996-quality1996.blogspot.com/  ใช้หลักการเหมือนกัน ให้มุ่งไปที่ด้านสิ่งแวดล้อม 
Req 10.2  ความไม่สอดคล้องและปฏิบัติการแก้ไข (Non-Conformity and Corrective Action: Check List)
*  โรงงานจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความไม่สอดคล้อง มาตรการแก้ไข (Non-Conformity และ Corrective Action Procedure) หรือยัง และนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ (Implementation)
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความไม่สอดคล้อง มาตรการแก้ไข  มีการชี้บ่งสิ่งที่ไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนดหรือไม่
การปฏิบัติการแก้ไข สามารถบรรเทาผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ อย่างไร
มีการสืบสวนหาสาเหตุความไม่สอดคล้องหรือไม่ สามารถระบุสาเหตุได้หรือไม่
ขั้นตอนการดำเนินการแก้ไข สามารถทำให้ปัญหาไม่เกิดซ้ำได้อีกหรือไม่
มีการวิเคราะห์และนำไปสู่ปฏิบัติการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในองค์กรได้หรือ ไม่ มีการประเมินสิ่งจำเป็นที่จะใช้ในการป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่สอดคล้อง กับข้อกำหนดได้หรือไม่
ให้ตรวจสอบและดูจาก NCR หรือใบรายงานข้อบกพร่องจากสิ่งแวดล้อม ทั้งจากบุคคลภายนอก และผลจากการทำ Internal Audit
มีข้อร้องเรียนภายในเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ดำเนินการอย่างไร
มีข้อร้องเรียนภายนอก หรือจากชุมชนรอบข้าง หรือจากภาครัฐ เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ดำเนินการอย่างไร
ให้ตรวจดูเอกสารและบันทึกผลจากการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันทั้งหมด มีสิ่งใดล่าช้าหรือไม่ปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร
มีการทบทวนผลของการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันหรือไม่ ใครรับผิดชอบ ทำไปเมื่อไร มีความเหมาะสมกับขนาดของปัญหาและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่
ผลการทบทวนการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน ได้แก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความไม่สอดคล้อง มาตรการแก้ไขและการป้องกันหรือไม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้หรือไม่ มีการแจกจ่ายเอกสารให้ครบทุกส่วนงานหรือไม่
10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
*มีเรื่องใดที่กำลังปรับปรุง คืบหน้าอย่างไรบ้าง ขอดู
สามารถ link ดูจาก http://quality1996-quality1996.blogspot.com/  
ใช้หลักการเหมือนกัน ให้มุ่งไปที่ด้านสิ่งแวดล้อม
      
ผู้เขียน จึงย้ำน้องๆนิสิตนักศึกษาว่า ให้ศึกษา ISO 9001 ให้ชำนาญและเข้าใจ สามารถนำไปต่อยอดในทุกระบบการจัดการโดยโรงงานส่วนใหญ่ ทำมากกว่าหนึ่งระบบการจัดการ เช่น ทำ ISO 9001 ควบคู่กับทำ ISO 14001 หรือทำ ISO 9001 ควบคู่กับทำ ISO 22000/HACCP หรือ ทำ ISO/TS 16949 ควบคู่กับทำ ISO 14001 บางโรงงานขนาดใหญ่ทำทั้งสามระบบคือ ISO9001, ISO14001, OHSAS/TIS18001 อื่นๆ

โรงงานที่ทำ ISO 14001 ก็มักจะทำระบบ OHSAS18001 หรือ TIS18001 กล่าวได้ว่างานใกล้ชิดกัน

วันนี้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและอุบัติเหตุสักนิด ผู้เขียนจึงเตือนมายังผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบ อย่างน้อยก็เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมก็ยังได้

* ผู้เขียนขอแนะนำทุกๆบริษัท โดยเฉพาะของคนไทย ควรมีผู้บริหารไปอบรม จป.ผู้บริหาร และส่งพนักงานไปอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มิฉะนั้นเวลาเกิดอุบัติเหตุ และเรื่องเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน เจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบที่สถานประกอบการ ที่ไม่มี จปว. จะเรียกขอ หรือขอดูการอบรมของผู้บริหารและของหัวหน้างานเกี่ยวกับความปลอดภัย หากไม่มีหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จะถูกปรับเป็นเงินมากโข เรียกว่าหลายแสนบาทก็มีแล้ว จัดอบรมดีกว่า เวลาเกิดเรื่องจะได้ไม่ยุ่งยาก ยิ่งอะไรที่เกี่ยวกับราชการ หรือกฎหมาย เรียกว่าเหนื่อยมากๆ

* ยิ่งโรงงานหรือบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คน (ไม่ใช่ทำบุญร้อยวันนะ แต่เกิดอุบัติขึ้นมา ก็ใช่เลย)
ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ หรือ จปว. รวมทั้งบริษัท ที่มีผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน หรือมีหลายโรงงานในรั๊วเดียวกัน นับจำนวนพนักงานรวมกันครบ 100 คน ก็เข้าข่าย ลักษณะแบบนี้ยังมีอีกหลายแห่ง หากเกิดอุบัติเหตุ จะถุกตรวจสอบเข้ม และปรับหนักพอสมควร ทำให้ถุกต้อง ปลอดภัยและสบายใจ

* ปัจจุบันโรงงานญี่ปุ่นมาตั้งที่ไทย มักมีพนักงานไม่ถึง 50 คน ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านเทคนิค ไม่ต้องมี จปว. มักเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตชิ้นส่วน หรือ สินค้า ส่งกลับไปให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น
แต่นิยมใช้เครื่องที่อัตโนมัติมากขึ้น พนักงานหนึ่งคน คุม 6-8 เครื่องจักรที่ใช้ผลิต ไม่เหมือนแต่ก่อน หนึ่งเครื่องใช้คนคุม 3-4 คน ข้อดีโรงงานญี่ปุ่น คือ เน้น 5 ส และตระหนักถึงเรื่องอุบัติเหตุ เราควรนำสิ่งดีๆมาประยุกต์ใช้กับพนักงานคนไทย








บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 
Copy Right, All Rights Reserved.

ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปัจจุบัน ผู้เขียนและทีมงานร่วมงานกับ KS Nation Consultant Co.,Ltd. เป็นผู้บรรยายประจำในระบบการจัดการต่างๆ และเป็น Lecturer/Instructor/ External Trainer ให้กับองค์การและกับ Certification Bodies โดยประสบการณ์จริงจากชีวิตทำงานในโรงงานและหน่วยงานต่างๆ :

สามารถ Click ดูที่ Web Blog ด้านล่าง
ISO9001: 2015, ISO/TS16949  link ดูจาก   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
GMP/HACCP/ISO22000/ISO17025  link ดูจาก  http://qualitysolving.blogspot.com/
ISO14001, OHSAS18001, SA8000  link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/
Check List of ISO (MS):link ดูจาก  http://McQMRtraining-McQMR.blogspot.com/                            
หรือ  http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
In-House Training: http://ksnationconsultant.blogspot.com/                                                                    
หรือ   http://mcqmr-training-consulting.blogspot.com/ 
หรือ   http://McQMR.blogspot.com/